NIM คือ? กับคำถามที่ตามมา แบงก์ไทยมี NIM สูงเกินไปหรือไม่

งบประมาณ 2567 : "เศรษฐา" แจงงบประมาณ วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ย้ำความจำเป็นฟื้นเศรษฐกิจ

ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า ในปี 2566 มูลค่าคงค้างตลาดตราสารหนี้ไทยเท่ากับ 16.5 ล้านล้านบาท ขยายตัว 5.4% จากปีที่แล้ว จากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลและภาคเอกชนเป็นสำคัญ ในส่วนของการออกตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาว (หุ้นกู้ระยะยาว) มีมูลค่า 1,018,690 ล้านบาท เป็นปีที่ 4 ที่ยอดการออกเกิน 1 ล้านล้านบาทในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

โดยหุ้นกู้ที่ออกส่วนใหญ่กว่า 91% อยู่ในกลุ่ม Investment grade (ตราสารหนี้ที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนระยะยาว) และเสนอขายต่อผู้ลงทุนทั่วไป (PO: Public Offering) ในสัดส่วน 39% เพิ่มขึ้นจาก 29% ของยอดการออกหุ้นกู้ระยะยาวในปี 2565 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการออกสูงสุดคือ กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ และ ธนาคาร ตามลำดับ

ทั้งนี้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย (Government bond yield curve) ในปี 2566 มีลักษณะ Bearish flattening กล่าวคือ Bond yield ระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีการปรับขึ้น 5 ครั้งจาก 1.25% เมื่อสิ้นปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 2.50% เมื่อสิ้นปี 2566 ขณะที่ Bond yield ระยะยาวค่อนข้างทรงตัวหรือปรับลงเล็กน้อยตามแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง ทำให้เส้น Bond yield มีลักษณะแบนราบลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดย Bond yield ไทยรุ่นอายุ 2 ปี ปรับตัวสูงขึ้น 71 bps. จากสิ้นปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 2.34% ส่วน Bond yield ไทยรุ่นอายุ 10 ปี ปรับตัวสูงขึ้น 6 bps. มาอยู่ที่ 2.70% ณ สิ้นปี 2566

ขณะที่เส้นอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชน (Corporate bond yield curve) ในปี 2566 ของหุ้นกู้ทุกอันดับเครดิตปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล โดยอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนรุ่นอายุ 5 ปี ปรับตัวสูงขึ้น 21-40 bps. ณ สิ้นปี 2566 อันดับเครดิต AAA ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 3.11% AA ที่ 3.32% A ที่ 3.57% BBB+ ที่ 4.52% และ BBB ที่ 5.42%

สำหรับกระแสเงินลงทุนจากต่างประเทศ (Fund flow) ของนักลงทุนต่างชาติในปี 2566 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิตราสารหนี้ไทยติดต่อกันใน 3 ไตรมาสแรกของปี ก่อนจะพลิกกลับเป็นการซื้อสุทธิในไตรมาส 4 หลังจากที่ Fed เริ่มมีความชัดเจนในการยุติการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ทั้งปี 2566 นักลงทุนต่างชาติมียอดการขายสุทธิสะสม 1.5 แสนล้านบาท และมีการถือครองตราสารหนี้ไทยเท่ากับ 9.4 แสนล้านบาท ณ สิ้นปี 2566 คิดเป็นสัดส่วน 5.7% ของมูลค่าคงค้างตลาดตราสารหนี้ไทย โดยตราสารหนี้ไทยที่ต่างชาติถือครองมีอายุคงเหลือเฉลี่ย 8.4 ปี เพิ่มขึ้นจาก 8.0 ปี เมื่อ ณ สิ้นปี 2565

ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ได้กล่าวถึงประมาณการยอดการออกหุ้นกู้ในปี 2567 โดยคาดการณ์ว่าจะมียอดการออกหุ้นกู้ระยะยาว 0.9-1.0 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงผลการสำรวจการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในปี 2567 ที่ผู้ร่วมตลาดส่วนใหญ่คาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะคงอยู่ ณ ระดับปัจจุบันที่ 2.50% ไปอีกระยะหนึ่ง

อย่างไรก็ตามคาดว่า กนง. อาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 จำนวน 1-2 ครั้ง รวมกันไม่เกิน 0.5% สำหรับการคาดการณ์ Bond yield ไทย ผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่า ในระหว่างปี 2567 Bond yield ไทยรุ่นอายุ 5 ปี และ 10 ปี จะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยเฉลี่ย 5-10 bps. จากปลายปี 2566 ตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ จากนั้นคาดว่า Bond yield 5 ปี และ 10 ปี จะปรับตัวต่ำลงในช่วงปลายปี 2567 มาอยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับปลายปี 2566 จากทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยและสหรัฐฯ เป็นสำคัญ

 ส.ตราสารหนี้ คาดปี 67 ออกหุ้นกู้ระยะยาวแตะ 1 ล้านล้านบาท ดอกเบี้ยขาลงครึ่งปีหลัง

เช็กลิสต์ 18 ศูนย์สอบ ก.พ. แบบ e-Exam ประจำปี 2567

ซูเปอร์คอม ทำนายแชมป์เอเชียน คัพ 2023 คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

เปิดภาพเรนเดอร์-สเปกหลุด iPhone SE 4 มาพร้อมไซส์กะทัดรัด-กล้อง 12MP

By admin